กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย

มาตรฐานควบคุมมลพิษอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เราต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย

เป็นความจริงที่ว่าระบบบำบัดน้ำเสียที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ถือเป็นสิ่งที่พวกเราประชาชนทุกคนโดยเฉพาะเจ้าของกิจการต่าง ๆ จำเป็นต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดอย่างถูกวิธี เนื่องจากถือเป็นหลักปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นั่นก็เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ป้องกันและยังช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะย้อนกลับมาส่งผลต่อส่วนรวมประชาชนทุกคนที่จำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติในท้ายที่สุดนั่นเอง ชวนทำความรู้จักกับกฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นที่เราต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียไว้ใช้งานในกิจการของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทำความรู้จักกับมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด

ถือได้ว่าในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่เราควรทำความรู้จักเป็นอันดับแรก ๆ ถึงความจำเป็นที่เราต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียไว้ใช้ในอุตสาหกรรมของเรา โดยสิ่งสำคัญที่เป็นตัวกำหนดนั่นคือมาตรฐานควบคุมมลพิษตามแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งเราสามารถแบ่งแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะถูกควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งตามกฎหมายได้ดังนี้

  • อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  • โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  • หอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
  • สถานบริการประเภทสถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว ซึ่งมีผู้ให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
  • โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
  • อาคารโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โรงเรียนของทางราชการ อาคารสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ
  • อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรการระหว่างประเทศและเอกชน
  • อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า
  • ตลาด ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
  • ภัตตาคารหรือร้านอาหาร 
  • โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
  • โครงการที่ดินจัดสรร

โดยนอกจากจะกำหนดแหล่งกำเนิดมลพิษแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงมาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความจำเป็นของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปริมาณและประเภทของน้ำเสียที่ถูกกำหนดนั้นจะถูกแบ่งแยกย่อยตามแหล่งกำเนิดมลพิษโดยจะกำหนดผ่าน ประเภทอาคารและขนาดอาคาร แต่โดยรวมแล้วเราสามารถแบ่งประเภทน้ำเสียที่อยู่ในมาตรฐานการควบคุมได้ดังนี้ 

  • ความเป็นกรดและด่าง (pH)
  • บีโอดี (BOD)
  • สารแขวนลอย (Suspended Solids)
  • ซัลไฟด์ (Sulifide)
  • สารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solids)
  • ตะกอนหนัก (Settleable Solids)
  • น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) 
  • ทีเคเอ็น (TKN)

มาตรา 69 กับความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษ

เมื่อเราทราบมาตรฐานควบคุมมลพิษ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดถึงความจำเป็นของระบบบำบัดน้ำเสียแล้วถัดมาคือ มาตรา 69 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งกำหนดให้ประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น ต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสีย หรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษไม่เกินมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดเอาไว้ตามมาตรา 55 นอกจากนี้ยังรวมไปถึงมาตรฐานที่ส่วนราชการได้กำหนด โดยอาศัยตามกฎหมายอื่น และมาตรฐานนั้นยังมีผลใช้บังคับตามมาตรา 56 หรือ มาตรฐานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดเป็นพิเศษสำหรับเขตควบคุมมลพิษตามมาตรา 58

มาตรา 70 ความเกี่ยวข้องของผู้ประกอบการที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษ

สำหรับมาตรา 70 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษทางน้ำด้วยระบบบำบัดน้ำเสียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  นั่นก็คือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่กำหนดตามมาตรา 69 นั้นมีหน้าที่ต้องก่อสร้าง ติดตั้ง หรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบกำจัดของเสียตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนดนั่นเอง โดยระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องสามารถกำจัดของเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดเอาไว้อีกด้วย 

มาตรา 80 ความจำเป็นในการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานควบคุมมลพิษของผู้ประกอบการ

โดยมาตรา 80 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะถูกกำหนดให้เราต้องเข้าตรวจสอบและควบคุมน้ำเสียโดยเฉพาะเจ้าของประกอบการที่มีระบบบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมของตน ซึ่งจำเป็นต้องมีหน้าที่ในการเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียหรืออุปกรณ์และเครื่องมือในแต่ละวัน และยังจำเป็นต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดเป็นหลักฐานไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นอีกด้วย พร้อมกับการจัดทำรายงาน สรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย หรืออุปกรณ์และเครื่องมือดังกล่าวเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงนั่นเอง ซึ่งจะประกอบไปด้วยแบบบันทึกของมูล 2 ชนิดด้วยกันได้แก่

  • แบบบันทึกข้อมูลตามแบบ ทส. 1 ที่จะใช้บันทึกข้อมูลในแต่ละวันในรอบ 1 เดือน ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูล 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษ, สถิติและข้อมูลที่จัดเก็บจากแหล่งกำเนิดมลพิษ และ การรับรองการบันทึกสถิติ ข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ 
  • แบบบันทึกข้อมูลตามแบบ ทส. 2 ที่ผู้ประกอบการ เจ้าของ หรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษจะต้องส่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นในท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษตั้งอยู่ในแต่ละเดือน ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูล 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลทั่วไป, ข้อมูลเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียและแหล่งข้อมูลรองรับน้ำทิ้ง, สรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียเป็นรายเดือน

บทลงโทษของผู้กระทำความผิดที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษ

แน่นอนว่าในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้น ยังรวมไปถึงบทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกส่วนที่ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีคุณภาพไว้ใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบทลงโทษนั้นจะประกอบไปด้วยกันตั้งแต่ มาตรา 98 จนถึง มาตรา 111 ซึ่งตัวอย่างบทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษได้แก่

  • มาตรา 104 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 106 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย หรือ มีหน้าที่กำจัดของเสียผู้ใดไม่จัดเก็บ สถิติ ข้อมูล หรือไม่จัดทำบันทึกหรือรายงานตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 107 ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือของเสีย ผู้ใดทำบันทึกหรือรายงานใดที่ตนมีหน้าที่ต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นมีหลายข้อด้วยกันที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้นได้บัญญัติเอาไว้ เราจะเห็นได้จากตัวอย่างบางส่วนตั้งแต่มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด, ความจำเป็นและความเกี่ยวข้องของผู้ประกอบการที่ต้องปฏิบัติ, ความจำเป็นในการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานที่ต้องบันทึกจัดทำสถิติให้เป็นไปตามกำหนด และยังรวมไปถึงบทลงโทษของผู้กระทำผิดที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการนั้นจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีคุณภาพไว้ใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการปรึกษาเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย หรือต้องการเลือกใช้บริการระบบบำบัดน้ำเสีย การเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการคุณภาพอย่าง บริษัท ไทยพินนะเคิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปั๊มน้ำด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานมากกว่า 25 ปี ถือเป็นผู้นำเข้าและขายปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ ปั๊มอุตสาหกรรม และเครื่องบำบัดน้ำเสียมากคุณภาพ พร้อมทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะ สามารถให้คำปรึกษา แนะนำบริการกับผู้ที่สนใจเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างลงตัว

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แชร์บทความ :

Facebook
Avatar Mobile
Main Menu x
X