ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล คืออะไร ใช้งานอย่างไร?

ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล คืออะไร ใช้งานอย่างไร?

ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและปฏิกูล บทบาทสำคัญในการจัดการน้ำเสีย

ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
 ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลอีกเครื่องมือหนึ่งในระบบน้ำเสีย
ในยุคที่มีการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการน้ำเสียทั้งในด้านประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล สามารถใช้งานโดยแช่อยู่ในน้ำได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้การสูบน้ำและการไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการทำงานของปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump)

ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียหรือเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าชนิดจุ่ม ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดกันน้ำ สามารถใช้งานโดยแช่อยู่ในน้ำได้ตลอดเวลาที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส ใช้ในการสูบน้ำเสียจากแหล่งน้ำเสียไปยังสถานที่บำบัดน้ำเสีย หรือระหว่างขั้นตอนต่างๆภายในระบบบำบัดน้ำเสีย การติดตั้งของตัวปั๊มจะมีให้เลือกด้วยกันสองแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบชุดไกด์เรียล (Auto setter) ที่ใช้อุปกรณ์ไกด์เรียล (Guide Rail) เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่งน้ำทางด้านออกของปั๊ม (Duck Foot Bend) ในการนำปั๊มจุ่มน้ำเสียลงบ่อน้ำ ช่วยให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย โดยไม่จำเป็นต้องสูบน้ำในบ่อออกให้หมด สามารถใช้โซ่ดึงตัวปั๊มขึ้นมาทางชุดไกด์เรียล (Guide Rail) ได้เลย ง่ายในการดึงตัวปั๊มขึ้นมาบำรุงรักษา หรือ ติดตั้งแบบข้องอ (Bend) โดยใช้อุปกรณ์ข้องอ (Bend) ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่งน้ำทางด้านออกของปั๊ม (Duct Foot Bend) ซึ่งการนำตัวปั๊มขึ้นมาจากบ่อเพื่อบำรุงรักษา จำเป็นต้องสูบน้ำในบ่อออกให้หมด

                                                               
                                               รูป ติดตั้งแบบข้องอ (Bend)                                    รูป ติดตั้งแบบชุดไกด์เรียล (Guide Rail)
 
 
ส่วนประกอบหลักปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump)
  • มอเตอร์ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียเป็นแบบกรงกระรอก (Squirrel Cage Motor) กันน้ำและฝุ่นละออง IP68 โดยอยู่ในน้ำลึกสูงสุดได้ 1.5 เมตร ระดับฉนวน (Insulation Class) Class F ที่ทนอุณหูมิได้สูงถึง 155 องศาเซลเซียส
  • ใบพัด โดยปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียมีทั้งใบพัดแบบนันคล๊อก (Non-Clog Impeller) รองรับของแข็งขนาดใหญ่ให้ไหลผ่านได้ โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตันและใบพัดที่ถูกออกแบบพิเศษด้วยเทคโนโลยี CFD (Computational Fluid Dynamics) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสูบน้ำสูงขึ้น ประหยั พลังงาน
  • แมคคานิคอลซีลแบบ Double Mechanical Seal (Silicon Carbide) อยู่ในห้องน้ำมัน มีน้ำมันหล่อลื่นหน้าสัมผัสอยู่ตลอดเวลา ยืดอายุการใช้งานของปั๊ม
ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลแต่ละรูปแบบ
ตัวปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump) ยังมีการแบ่งรูแปบบตามการใช้งานที่เหมาะสม โดยจำเป็นต้องพิจารณาจาก ลักษณะการใช้งาน , ระยะส่งของน้ำ (Total Head) , ปริมาณการสูบน้ำ (Capacity) ,ขนาดท่อส่ง และจุดเชื่อมต่อต่อเป็นแบบใด เช่น House , Screw. Flange เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทางบริษัท ไทยพินนะเคิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ขอนำเสนอ ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump) แบรนด์ GSD PUMP มีด้วยกัน 2 รุ่น ดังนี้
                                                             
ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump) รุ่น  CP
  •  ใบพัดแบบนันคล๊อก(Non-Clog Impeller)รองรับของแข็งขนาดใหญ่ให้ไหลผ่านได้โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน
  •  มีขนาดท่อ 50 – 500 มม.
  • อัตราการไหล 10 – 2,600 ลบม./ชม.
  • ส่งสูงได้ถึง 6 – 45 ม. 
  • กำลัง 0.75 – 250 กิโลวัตต์

                                                                         

ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump) รุ่น  QW
  • ปั๊มน้ำเสียนวัตกรรมใหม่และประสิทธิภาพสูง โดยการใช้แนวคิด ESG (Environment Social Governance)
  •  ใบพัดที่ถูกออกแบบพิเศษด้วยเทคโนโลยี CFD (Computational Fluid Dynamics) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสูบน้ำสูงขึ้น ประหยัดพลังงาน
  •  แมคคานิคอลซีล แบบ Double Mechanical Seal (Silicon Carbide) อยู่ในห้องน้ำมัน มีน้ำมันหล่อลื่นหน้าสัมผัสอยู่ ตลอดเวลา ยืดอายุการใช้งานของปั๊ม สามารถใช้ Mechanical Seal Bergman Mechanical Seal ได้
การบำรุงรักษาปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump)
เพื่อให้เครื่องสูบน้ำเสียแบบจุ่มใต้น้ำอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยืดอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดย
  • ตรวจสอบระบบหล่อลื่นน้ำมัน ควรตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน และเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี
  • ตรวจสอบซีลยาง O-ring ของ Oil Plug ด้วยว่ามีสภาพชำรุดหรือไม่
  • ตรวจใบพัดของเครื่องสูบน้ำเสียแบบจุ่มใต้น้ำต้องไม่ตันและไม่สึกกร่อน

สำหรับท่านใดที่สนใจ ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (Submersible Pump)  แบรนด์ GSD PUMP แต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องเลือกแบบใดจึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน เลือกใช้บริการกับ    

บริษัท ไทยพินนะเคิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ที่มากด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี มั่นใจได้ถึงมาตรฐานสินค้า การบริการ ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยม พร้อมทีมงานมืออาชีพ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา 

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แชร์บทความ :

Facebook
Avatar Mobile
Main Menu x
X